วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

เรียนรู้เรื่องดนตรีไทย


เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทย คือ สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับทำเสียงให้เป็นทำนอง หรือจังหวะ วิธีที่ทำให้มีเสียงดังขึ้นนั้นมี อยู่ 4 วิธีคือ
ใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้นสิ่งที่มีสายสำหรับดีด เรียกว่า "เครื่องดีด"
ใช้เส้นหางม้าหลาย ๆ เส้นรวมกันสีไปมาที่สายแล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายแล้วใช้เส้นหางม้าสีให้เกิด เสียงเรียกว่า "เครื่องสี"
ใช้มือหรือไม้ตีที่สิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่ใช้ไม้หรือมือตี เรียกว่า "เครื่องตี"
ใช้ปากเป่าลมเข้าไปในสิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่เป่าลมเข้าไปแล้วเกิดเสียงเรียกว่า "เครื่องป่า" เครื่องทุกอย่างที่กล่าวแล้วรวมเรียกว่า เครื่องดีด สี ตี เป่า
[ขยายดูภาพใหญ่ ]

การผสมวง
ผสมวงคือ การเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ อย่างมาบรรเลงรวมกัน แต่การที่จะนำเอาเครื่องดนตรีคนละอย่างมาบรรเลงพร้อม ๆ กันนี้ จะต้องพิจารณาเลือกแต่สิ่งที่มีเสียงกลมกลืนกันและไม่ดังกลบเสียงกัน สมัยโบราณนั้นเครื่องดีดก็จะผสมแต่ กับเครื่องสี เพราะมีเสียงที่ค่อนข้างเบาด้วยกัน และเครื่องตีก็จะผสมแต่เฉพาะกับเครื่องเป่าเท่านั้น เพราะมีเสียงค่อน ข้าง ดังมากด้วยกันภายหลังเมื่อรู้จักวิธีสร้างหรือแก้ไขเครื่องตีและเครื่องเป่าให้ลดความดังลงได้พอเสมอกับเครื่อง ดีดเครื่องสี จึงได้นำเครื่องตีและเครื่องเป่าเหล่านั้นบางอย่างเข้าผสมเฉพาะแต่ที่ต้องการและจำเป็นและเลือกดูว่า เครื่องดนตรีอย่างไหนทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ได้หลายเสียง ก็ให้บรรเลงเป็นทำนองอย่างไหนทำเสียงสูงต่ำหลาย ๆ เสียงไม่ได้ ก็ให้ เป็นพวกบรรเลงประกอบจังหวะ
วงดนตรีไทยที่ผสมเป็นวงและถือเป็นแบบแผน มีอยู่ 3 อย่างคือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี นอกจาก นี้ถือว่าเป็นวงพิเศษ
"วงปี่พาทย์" ผสมด้วยเครื่องตีและเป่า มีอยู่ 3 ขนาด คือวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พทาย์เครื่องคู่และวงปี่พาทย์ เครื่องใหญ่
"วงเครื่องสาย" เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดีด และเครื่องสีเป็นหลัก มีเครื่องเป่าและเครื่องตีที่ได้เลือกว่ามี เสียงเหมาะสมกันผสม ดังนี้ เครื่องสายวงเล็ก และ เครื่องสายเครื่องคู่
"มโหรี" เป็นวงดนตรีผสม ตั้งแต่มีไม่กี่สิ่ง จนกลายเป็นวงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์ ดังนี้ วงมโหรีโบราณ มโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ วงมโหรีเครื่องใหญ่
[ขยายดูภาพใหญ่ ]

ลำดับเสียง
เสียงของเครื่องดนตรี ที่จะบรรเลงเป็นทำนองนั้น จะต้องมีเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันหลาย ๆ เสียง โดยปกติก็มีอยู่ 7 เสียง เมื่อถึงเสียงที่ 8 ก็ถือว่าเป็นเสียงซ้ำกับเสียงที่ 1(เรียกว่า คู่ 8) และซ้ำต่อ ๆ ไปตามลำดับ แต่ระยะความห่างจา ก เสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งนั้น ดนตรีของแต่ละชาติมักจะนิยมแบ่งระยะไม่เหมือนกัน ส่วนการแบ่งระยะเสียงเรียงลำดับของ ดนตรีไทยนั้น แบ่งความห่างของเสียงเท่า ๆ กันทั้ง 7 เสียงจากเสียงที่ 1 ไปเสียงที่ 2 จากเสียงที่ 2 ไปเสียงที่ 3 จาก3 ไป 4 จาก 4 ไป 5 จาก 5 ไป 6 จาก 6 ไป 7 และ จาก 7 ไป 8 ทุก ๆ ระยะ เท่ากันหมด
[ขยายดูภาพใหญ่ ]

เพลงดนตรีไทย
เพลงดนตรีของไทยนั้น มีทำนองต่าง ๆ เพลงบางชนิดก็มีทำนองพื้น ๆ เรียบ ๆ ไม่มีพลิกแพลงอย่างใด เรียกว่า "เพลงพื้น " บางชนิดก็เดินทำนองเป็นเสียงยาว ๆ เพลงชนิด นี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีก็จะต้องตีกรอทำให้เสียงยาวจึงเรียกว่า " เพลงกรอ" และเพลงบางชนิดก็มีทำนองพลิกแพลงโลดโผน มีแบ่งเครื่องดนตรีเป็นพวก ผลัดกันหยุด ผลัดกันบรรเลง ก็เรียกว่า " เพลงลูกล้อลูกขัด" ถ้าจะแบ่งตามลักษณะของเพลง ก็จะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
"เพลงหน้าพาทย์" ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมุนษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
"เพลงรับร้อง" ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น
"เพลงละคร" หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
"เพลงเบ็ดเตล็ด" ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน
[ขยายดูภาพใหญ่ ]

การบรรเลงดนตรีไทย
การบรรเลงดนตรีไทยนั้น ผู้บรรเลงต้องจำทำนองเนื้อเพลงได้อย่างแม่นยำอย่างหนึ่ง รู้วิธีบรรเลงและหน้าที่ของ เครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้มว่ามีอย่างไร และมีสติปัญญาแต่งทำนองให้เกิดความไพเราะอีกอย่างหนึ่งเพราะการ บรรเลงดนตรีไทยไม่ได้ดูโน๊ต จึงต้องใช้ความจำ ในขณะที่บรรเลง ผู้บรรเลงจะต้องแต่งทำนองด้วยปัญญาของตน ให้ดำเนินไปตาม วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ก็ต้องเก็บถี่ ๆ ตีเป็นคู่ 8 พร้อม ๆ กันทั้งสองมือ และต้องไม่ให้ผ ิด ไปจากเนื้อเพลงของเพลงนั้นด้วย
[ขยายดูภาพใหญ่ ]

การฟังเพลงไทย
วงดนตรีแต่ละอย่าง ย่อมมีวิธีบรรเลงและเสียงของเครื่องดนตรีต่างกัน จึงต้องรู้จักวงดนตรีที่ฟังนั้นเสียก่อน วงปี่พาทย์ที่ตีด้วยไม้แข็ง ก็ย่อมมีเสียงแกร่งกร้าว มักบรรเลงค่อนข้างเร็ว และโลดโผน วงปี่พาทย์ไม้นวม การบรรเลง ก็จะต้องค่อนข้างช้า ไพเราะในทางนุ่มนวล วงมโหรีจะต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนวงเครื่องสาย อาจมีได้ทั้งรุกเร้า รวดเร็ว และไพเราะนุ่มนวล เมื่อรู้เช่นนี้ ขณะฟังวงอะไรบรรเลงก็ฟังโดยทำใจให้เป็นไปตามลักษณะของวงชนิดนั้น
การฟังเพลง สิ่งสำคัญก็อยู่ที่ทำนอง เครื่องดนตรีที่บรรเลงทุก ๆ อย่างย่อมมีทำนองของตัวจะต้องฟังดูว่าเครื่อง ดนตรีทุก ๆ อย่างนั้น ดำเนินทำนองสอดคล้องกลมเกลียวกันดีหรือไม่ และต่างทำถูกตามหน้าที่) หรือไม่ เช่น ซออู้ทำหน้า ที่ หยอกล้อยั่วเย้าหรือเปล่า หรือฆ้องวงเล็ก ตีสอดแทรกทางเสียงสูงดีหรือไม่ เป็นต้น เมื่อสังเกตการบรรเลงอย่างนั้นแล้วจึง ทำอารมณ์ให้เป็นไปตามอารมณ์ของเพลง เพราะทำนองเพลงย่อมแสดงอารมณ์โศกรัก รื่นเริง หรือขับกล่อมให้เพลิดเพลิน เพลงอารมณ์โศก และรักมักจะมีจังหวะช้า ๆ และเสียงยาว เพลงรื่นเริง มักจะมีจังหวะค่อนข้างเร็ว และเสียงสั้น ส่วนเพลงขับกล่อม ก็มั ก จะเป็นพื้น ๆ เรียบ ๆ สม่ำเสมอ ทั้งนี้จะต้องสังเกตด้วยเสียงของทำนองที่มาสู่อารมณ์เราด้วย ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อฟัง เพลงในอารมณ์ใด ก็ตั้งใจฟังไปในอารมณ์นั้น ก็จะได้รสไพเราจากการฟังได้อย่างแท้จริง
[ขยายดูภาพใหญ่ ]

การบรรเลงดนตรีไทยประกอบงาน
การที่จะมี่ดนตรีบรรเลงประกอบในงาน ที่จะจัดให้มีขึ้นนั้น ก็ควรจะยึดถือแบบแผนที่สมัยโบราณได้เคย ใช้กันมาจนเป็นประเพณีไปแล้ว คือ
งานที่มีพระสงฆ์สวดมนต์และฉันอาหาร ควรใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ก็แล้วแต่เห็นสมควร
งานแต่งงาน หรือที่เรียกกันว่างานมงคลสมรส ควรใช้วงมโหรีหรือวงเครื่องสาย
งานศพ ถ้าจะใช้ดนตรีไทย ควรใช้วงปี่พาทย์นางหงส์
งานพิเศษที่จัดขึ้นเฉพาะครั้งคราว เช่น รับแขกผู้มีเกียรติ ชุมนุมเพื่อกิจการหรือสมาคมอาจใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม หรือ มโหรี หรือเครื่องสาย ก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่เจ้าของงานจะพอใจ
สวัสดีค่ะ...ท่านอาจารย์ และเพื่อน ๆ ป.บัณฑิต รุ่น 10 ทุกคน...