วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิปัญญาท้องถิ่น



โอ่งมังกร"อุตสาหกรรมพื้นบ้านที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดราชบุรี



จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านว่าสมัยก่อนโอ่งที่ใช้กักเก็บน้ำชั้นดี ต้องนำเข้ามาจากประเทศจีนทั้งนั้น แต่เนื่อจากภาวะสงครามโลกคร้งที่ 2 เป็นต้นมา สินค้าจากต่างประเทศหลายอย่างไม่สามารถนำเข้าประเทศได้จึงจำเป็นต้องผลิตกันเอง
และถ้าย้อนอดีต จากคำบอกเล่าของลูกหลาน ทายาทเจ้าของโรงโอ่ง ตั้งแต่ พ.ศ.2476 นายซ่งฮง แซ่เตีย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง สองสหายที่เคยทำเครื่องปั้นดินเผาที่เมืองป้งโคย ประเทศจีน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ได้มาพบแหล่งดิน ที่จ.ราชบุรี และเห็นว่าเป็นดินที่ใช้ในการปั้นโอ่งได้ จึงเป็นที่มาของโรงโอ่ง"เถ้าแซไถ่" และโรงโอ่ง"เถ้าฮงไถ่"ผลิตโอ่งลายมังกรในเวลาต่อมา
"โอ่งราชบุรี ทำไมต้องมีลายมังกร"
แต่เดิมที่ทำกันเป็นโอ่งที่ไม่มีลวดลายใดๆ เรียกว่า "โอ่งเลี่ยน" จากการที่ต้นกำเนิดโอ่งมาจากชายจีน 2 ท่านดังกล่าว เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วลูกหลานจึงได้คัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคลขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากการพัฒนาคิดหาความงดงามเพียงอย่างเดียว แน่นอน ในที่สุดก็เลือกสรรลวดลาย"มังกร"ขึ้น ตามคติความเชื่อในวัฒนธรรมของจีน



ตุ๊กตาผ้าราชบุรี

ตุ๊กตาผ้าขนสัตว์เป็นสินค้าที่เลื่องชื่อของจังหวัดราชบุรี และถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของราชบุรีเช่นเดียวกับโอ่งมังกร ที่ทำให้คนทั่วประเทศ รู้จักจังหวัดราชบุรี ในช่วงปี พ.ศ.2527-2528 ชาวบ้านกำแพงนิยมทำอาชีพ ผลิตภัณฑ์ยัดนุ่น และใยฝ้าย ได้แก่ หมอนหก หมอนปลา ตุ๊กตารูปสัตว์ที่นอนเล็กยัดนุ่น หมอนประดับชุดรับแขก ตกแต่งอย่างสวยงาม นำใส่รถยนต์ไปขายที่กรุงเทพฯ หรือที่ต่างจังหวัด พอถึงแหล่งก็ให้คนหาบเร่ขายไปตามหมู่บ้าน ตรอก ซอกซอย ตามแต่จะดั้นด้นเข้าไปถึง




ผ้าจกราชบุรี




ผลิตภัณฑ์ ผ้าจกราชบุรีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าจกราชบุรี เป็นผ้าจกและผ้าซิ่นรางบัว ทอพื้นเมืองลายไทยโบราณ มีความละเอียดและประณีตมาก สีสันและลวดลายสวยงาม มีให้เลือกมากมาย (OTOP)@วัตถุดิบที่ใช้เส้นไหม, สีย้อมการใช้/ประโยชน์ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งแสดงถึงความอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดีสถานที่จำหน่าย กลุ่มทอผ้าจกรางบัวศูนย์ทอผ้าจกวัดรางบัว 97/3 หมู่ 1 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150 ติดต่อ : นางจันทร์เพ็ญ อร่ามศิริรุจิเวทย์โทร : 09 9819550



ผลิตภัณฑ์ไม้ตาล






ประวัติความเป็นมาของกลุ่มกลึงไม้ตาล

จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ ไม้ตาล ผลิตขึ้นแห่งแรกในประเทศไทยที่หมู่ 1 ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยเริ่มขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2515 โดยมีพ่อค้างานกลึงไม้ ชื่อ นายสุจินต์ ศรีสวัสดิ์ ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม (มีภูมิลำเนาเดิมอยู่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี) ได้มาเช่าบ้านอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ได้มาริเริ่มงานกลึงไม้เป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ครก กำไรข้อมือ โดยใช้ไม้พุด ไม้มะเกตุ ไม้ประดู่ เมื่อมีงานเข้ามามากก็เริ่มขยายงานมายังตำบลหนองปรง ซึ่งมีช่างไม้เป็นชาวไทยทรงดำ มีฝีมืออยู่หลายคน ได้แก่ นายช้อย ทองสัมฤทธิ์ นายปี จำปาทอง นายมก ร่าเริง นายต๊อก ร่าเริง นายเที่ยง ร่าเริง นายสมหมาย ร่าเริง นายหัน อ่อนยิ่ง และนางอนงค์ อ่อนยิ่ง และจ้างให้กลุ่มคนเหล่านี้กลึงไม้โดยทำแท่นกลึง และแนะนำวิธีการกลึงไม้ ซึ่งไม้ที่ใช้เริ่มแรกคือ ไม้ประดู่ ไม้พุด ไม้มะเกตุ กลึงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยมีนายสุจินต์ เป็นผู้ออกแบบ และร้านค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ช่วยออกแบบให้ ต่อมาไม้เหล่านั้นเป็นไม้หายาก และป่าไม้ประกาศเป็นไม้หวงห้าม
แนวคิดซึ่งได้มาในตัวผลิตภัณฑ์ กลุ่มช่างกลึงไม้ จึงปรึกษาหารือกันว่าจะนำไม้ที่ไหนมากลึง ก็เห็นว่าไม้ตาลซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่อย่างมากมายตามท้องทุ่ง หัวไร่ปลายนา ถ้าเป็นต้นที่อายุเก่าแก่ 80-100 ปี จะถูกโค่นทิ้ง เพราะไม่สามารถให้ผลผลิตได้ จึงได้นำมาใช้ประโยชน์ โดยนำมาทดลองกลึงเป็นรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งต้องอาศัยภูมิปัญญาและเทคนิคในการกลึงเป็นอย่างมาก ต้องตีใบมีดที่ใช้กลึงกันเอง เพราะไม้ตาลเป็นไม้ที่มีเสี้ยน ต้องใช้เทคนิคในการกลึงสูงมาก ผลิตภัณฑ์เริ่มแรกที่ใช้กลึง ได้แก่ ครก หม้อดิน กำไรข้อมือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีมาก และต่อมาได้กลึงเป็นกระโถน ส่งขายที่หน้าเขาวัง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ชาวต่างประเทศคือ ญี่ปุ่นได้มาเห็นก็สั่งซื้อเป็นจำนวนมาก และได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า และคิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในนามผลิตภัณฑ์ กลึงไม้ตาลตำบลหนองปรง
การสั่งสม สืบสานผลิตภัณฑ์ ต่อมาได้นำภูมิปัญญาเหล่านี้ถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจสร้างเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อมีเวลาว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยว ก็มากลึงไม้ตาลเป็นอาชีพเสริม แต่เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ภาครัฐจึงได้เข้ามาช่วยในการรวมกลุ่ม โดยมีคณะกรรมการรับผิดชอบ 1 คณะ มี นางอนงค์ อ่อนยิ่ง เป็นประธานกลุ่ม ใช้บ้านเลขที่ 44/1 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ทำการ กลุ่มกลึงไม้ตาลตำบลหนองปรง ปัจจุบันมีผู้กลึงไม้ตาลในตำบลหนองปรง จำนวน 150 หลังคาเรือน เป็นที่รู้จักในผลิตภัณฑ์กลึงไม้ตาลตำบลหนองปรง ทั้งในและต่างประเทศ ติดต่อ 09-7407218 ประธานกลุ่มกลึงไม้ตาล

ไม่มีความคิดเห็น: