วันเสาร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ในหลวงกับเทคโนโลยี


โครงการปลูกหญ้าแฝก

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก" หรือ "พระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่" หรือประโยคใดก็ตามที่เหล่าประชาชนชาวไทยตลอดจนชาวโลก ได้กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วยความชื่นชมนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนพบเห็นอย่างเป็นรูปธรรมจากการทรงงานอย่างหนักของพระองค์ตลอดเวลา กว่า 50 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาของพระองค์นั้นมีหลักสำคัญๆ ที่ทรงปฏิบัติคือจะต้องเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์สังคม นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้ทันกับเทคโนโลยีปัจจุบัน แต่ทั้งนี้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างประหยัด ขณะเดียวกันจะต้อง มีการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปติดตามการดำเนินงานที่บริเวณพื้นที่ดินเสื่อมโทรมเขาทอง เขาบ่อหิน (Bad Land) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ในโอกาสนี้ได้พระราชทานพระราชดำริให้ทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อแก้ไขดินเลวโดยวิธีตามธรรมชาติ

"หญ้าแฝก" เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้พระราชทานพระราชดำริให้ศึกษาและนำมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา จึงได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสนองพระราชดำริทั้งด้านการศึกษา วิจัย และปฏิบัติในพื้นที่จริง ขณะเดียวกันทรงติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และพระราชทานพระราชดำริให้ปรับปรุงแก้ไขเสมอมา ในปัจจุบันจึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมดำเนินการมากกว่า 30 หน่วยงาน มีผลงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝกมากกว่า 100 เรื่อง มีการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ คือปลูกตามพื้นที่ปลูกป่าใหม่ พื้นที่สองข้างเส้นทางต่างๆ ทั้งพื้นที่ดินตัด ดินถม และพื้นที่ราบ พื้นที่ขอบสระน้ำ และอ่างเก็บน้ำเพื่อไม่ให้ดินพังลงในแหล่งน้ำ พื้นที่การเกษตรลักษณะต่างๆ พื้นที่การเกษตรของเกษตรกร รวมพื้นที่ดำเนินการไปแล้วมากกว่าหนึ่งแสนไร่
ผลการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นผู้จัดสัมมนาหญ้าแฝกระดับนานาชาติ (International Conference on Vetiver) ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2539 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่นอกเหนือจากการที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนักวิชาการ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกแล้ว คือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จากความสำเร็จของการสัมมนาทั้งด้านวิชาการและการจัดการ เป็นที่ประทับใจของผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างยิ่ง อีก 4 ปี ต่อมา ประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เป็นผู้จัดสัมมนานานาชาติในหัวข้อ "หญ้าแฝกกับสิ่งแวดล้อม" (Vetiver and the Environment) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18-22 มกราคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่ง ถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา การสัมมนาทั้ง 2 ครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดการสัมมนา และทรงเข้าร่วมสัมมนาด้วย การสัมมนาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านต่างๆ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับหญ้าแฝกได้เผยแพร่ไป ทั่วโลก ทำให้ต่างประเทศได้รับทราบถึงความสามารถของนักวิชาการชาวไทย และประเทศมาดากัสการ์ ได้ขอความร่วมมือมายังสำนักงาน กปร. เพื่อให้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครของประเทศไทยไปให้คำแนะนำทางวิชาการในการแก้ไขปัญหาความเสียหายต่อเชิงลาด (slope) ในเขตทางรถไฟสาย FCE ซึ่งถูกพายุไซโคลนถล่มเสียหาย ในเดือนกุมภาพันธ์ และ มีนาคม 2543 โดย USAID เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ สำนักงาน กปร. ได้ประสานกับ ดร.อุทัย จารณศรี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญหญ้าแฝกจากโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ นายดิถี แห่งเชาวนิช วิศวกรจาก บริษัท เอพีที คอนซัลท์ จำกัด ได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวที่ประเทศมาดากัสการ์ ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม - 14 สิงหาคม 2543 ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง
นอกจากนั้น บริษัท Heineken เห็นว่า ประเทศไทยดำเนินการเกี่ยวกับหญ้าแฝกได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงได้สนับสนุนงบประมาณจำนวนหนึ่งให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา สำหรับดำเนินการเกี่ยวกับโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และชาวต่างประเทศหลายคนได้ขอความร่วมมือมายัง สำนักงาน กปร. ให้ดำเนินการจัดอบรมการขยายพันธุ์ และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อประโยชน์ต่างๆ ขึ้นในประเทศไทย คณะอนุกรรมการด้านวิชาการ การวางแผน และติดตามประเมินผล การพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการจัดการอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานหญ้าแฝกสำหรับผู้สนใจจากประเทศต่างๆ ในปลายปีนี้
การดำเนินงานโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ มีการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมปรากฎผลอย่างชัดเจนในการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ตั้งแต่โรงเรียนระดับประถมศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจ ตลอดจนเอกชนและพื้นที่ของเกษตรกร ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเป็นเอกสารวิชาการทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จดหมายข่าว คือ ภูมิวารินอนุรักษ์ และ Vetiverim มีเครือข่ายข้อมูลในรูปของ Internet 2 ส่วน คือ Thailand Vetiver Network (THVN) และ Pacific Rim Vetiver Network (PRVN) ให้ผู้ที่สนใจทั่วโลกได้ศึกษา การดำเนินงานหญ้าแฝกของประเทศไทย
ในเรื่องของหญ้าแฝกนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้สนพระทัยเพียงการศึกษาดำเนินงานเท่านั้น ยังได้พระราชทานเงินรางวัล The King of Thailand Vetiver Award ให้กับบุคลที่มีผลงานดีเด่นทางด้านการวิจัย และการส่งเสริมหญ้าแฝกแล้วถึง 2 ครั้ง เมื่อผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก อย่างชัดเจน International Erosion Control Association (IECA) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสากลที่ได้ดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์และป้องกันการพังทลายของดิน ได้มีมติทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล International Erosion Control Association's International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ในการอนุรักษ์ดินและส่งเสริมสภาพแวดล้อม โดยใช้หญ้าแฝก เมื่อปี พ.ศ.2536 และในปีเดียวกันนี้เองธนาคารโลก ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณในฐานะเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำด้วย
สำหรับการสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติครั้งที่ 3 นั้นเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะมีขึ้นที่เมืองกวางเจา มลรัฐกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม 2547 ในหัวข้อ Vetiver and Water สำหรับผู้สนใจหญ้าแฝกจากทั่วโลกได้มาเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันต่อไป
นับเป็นสิริมงคล เป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมหญ้าแฝกเป็นอย่างดีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระมหากรุณาให้เครือข่ายหญ้าแฝกโลก (The Vetiver Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูสภาพเดินและเผยแพร่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อยู่ในพระราชูปถัมภ์ การดำเนินงานเกี่ยวกับหญ้าแฝกในโลกนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งจะมีผล ต่อสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานนั่นเอง ขอจงทรงพระเจริญ






จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ
1.
การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2.
การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3.
การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศและทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน
ดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)
เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่ 1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป 1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ 1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย 1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น
4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่
ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไป
จากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลัก อยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวง จากเครื่องบิน เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถ ปฏิบัติการตามขั้นตอน กรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและทดลองกรรมวิธี การทำฝน เพื่อการพัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่นการทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มี การเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้อง หยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธทหารบกจนถึงพ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และพัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง และตรวจสอบผลในเชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้
อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตาม กล่าวคือ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง




การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา" การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ 1. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง Chaipattana Aerator, Model RX-1 2. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3 3. เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4 4. เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท Chaipattana Aerator, Model RX-5 5. เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6 6. เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7 7. เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8 8. เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9 9. เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา 1. โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม 2. ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย 3. ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายเข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว 4. ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: